นายยอดพล วิชญกุล
นายด่านศุลกากรตากใบ

รายงานสถิติและข่าวสาร


ประกาศกรม/กระทรวง

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 17 เข้าชมวันนี้
  • 1,032 เข้าชมเดือนนี้
  • 31,804 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ด่านศุลกากรตากใบ เลขที่ 725 หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 96110
โทรศัพท์. 0-7364-2293 งานธุรการ กด 1 งานบริการศุลกากร กด 2 งานพรมแดน กด 3 งานคดี กด 4

พิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้า

พิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้า

พิธีการศุลกากรนําเข้าทางบก

ในการนําเข้าสินค้า ผู้นําเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กําหนดไว้ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยมีคําแนะนําในการจัดเตรียมเอกสาร และปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนําเข้าสินค้า ดังนี้

  1. ใบขนสินค้าขาเข้าและเอกสารอื่นที่ให้ใช้แทนใบขนสินค้าขาเข้า
  2. แบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกําหนดให้ผู้นําเข้าใช้สําหรับพิธีการศุลกากร ดังนี้
    1. ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค้าเพิ่ม (กศก. 99/1) สําหรับการนําเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภท ยกเว้นสินค้าที่กรมศุลกากรกําหนดให้ใช้ใบขนฯ ประเภทอื่น
    2. คําร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน (กศก. 103) ใช้สําหรับการนําเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกําหนด
    3. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสําหรับนําของเข้าหรือส่งของออกชั่คราว ใช้สําหรับการนําเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่าง ๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา
    4. แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสําหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียใช้สําหรับการนําเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
    5. ใบขนสินค้าถ่ายลํา (ใบแนบ 9)(แบบที่ 379) ใช้สําหรับพิธีการศุลกากรสินค้าถ่ายลํา
    6. ใบขนสินค้าผ่านแดน (แบบที่ 448) ใช้สําหรับพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดนตามความตกลงที่ประเทศไทยทําไว้กับประเทศต่างๆ
    7. ใบขนสินค้าพิเศษสําหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สําหรับการนํารถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
    8. ใบขนสินค้าพิเศษสําหรับเรือสําราญและกีฬาที่นําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สําหรับการนําเรือสําราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
  3. เอกสารที่ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทําใบขนสินค้าขาเข้า
    1. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading : B/L หรือ Air Waybill : AWB )
    2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
    3. เอกสารอย่างอื่น หมายถึง เอกสารหรือคําสําแดงเกี่ยวกับการนําเข้าหรือการซื้อขายซึ่งผู้ขายหรือผู้ส่งของที่อยู่ต่างประเทศทําขึ้นและส่งมาให้หรือซึ่งสําแดงการเสนอและสนองในการซื้อขายของหรือเอกสารการติดต่อระหว่างผู้ส่งของและผู้นําของเข้าหรือของผู้ที่เกี่ยวข้องในการนําของเข้า เช่น ผู้รับบรรทุก ผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น
    4. ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นใด กรณีที่ของนําเข้านั้นเป็นของต้องกํากัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    5. กรณีนําเข้าเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้โดยง่าย ควรมีเอกสารใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสาร รายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet)
  4. การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อปฏิบัติพิธีการนําเข้าสินค้า
    1. การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกําหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทํา ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสาร
    2. การยื่นใบขนสินค้าขาเข้า เมื่อผู้นําของเข้าจัดทําข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่ศุลกากรกําหนด และเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นในการปฏิบัติพิธีการ ถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรแล้ว
    3. วิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า การส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้ากระทําได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
      1. ผู้นําของเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าด้วยตนเอง
      2. ผู้นําของเข้ามอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน
      3. ผู้นําของเข้าให้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) เป็นผู้ส่งข้อมูล
      4. ผู้นําของเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าในรูปแบบเอกสาร พร้อมเอกสารประกอบและแบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า (ใบนําคีย์) และชําระค่าธรรมเนียมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าหรือที่ที่นําของเข้าโดยผู้นําของเข้าต้องลงลายมือชื่อไว้ทุกฉบับ ซึ่งประกอบด้วย
        1. - ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมคู่ฉบับ 1 ฉบับ
          - แบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า (ใบนําคีย์)
          - สําเนาใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ Air Waybill)
          - สําเนาบัญชีราคาสินค้า (Invoice)
          - บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) (ถ้ามี)
          - ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) (ถ้ามี)
          - ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสําหรับของควบคุมการนําเข้า (ถ้ามี)
          - ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า (Certificate of Origin) (กรณีขอลดอัตราอากร)
          - เอกสารที่จําเป็นอื่นๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะ การใช้งานของสินค้า Catalogue
  5. การชําระภาษีอากร
    1. ชําระโดยผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีตัดบัญชีธนาคาร (Electronic Funds Transfer : EFT)
    2. ชําระที่หน่วยงานบัญชีและอากรของสํานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร

การนําเข้าสินค้าทางบก ณ ด่านพรมแดน หรือด่านตรวจ 
ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  1. ผู้นําเข้า/ตัวแทนออกของยื่นบัญชีสินค้าทางบก Car Manifest (แบบ ศ.บ. 1) ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ประจําด่านพรมแดน เพื่อดําเนินการตรวจสอบสินค้า และทะเบียนรถยนต์
  2. เจ้าหน้าที่ศุลกากรบันทึกข้อมูลรายละเอียด แบบ ศ.บ. 1 ลงในระบบคอมพิวเตอร์ (Car Manifest) และดําเนินการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามายังด่านศุลกากร
  3. ผู้นําเข้าหรือตัวแทน จัดทําและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ระบบจะตรวจสอบข้อมูลสินค้าและตัดบัญชีกับ Car Manifest
  4. ผู้นําเข้าหรือตัวแทนฯ ชําระค่าภาษีอากร (กรณีสินค้าต้องชําระภาษีอากร) ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของด่านศุลกากร
  5. ชําระค่าภาษีแล้วระบบคอมพิวเตอร์จะกําหนดเงื่อนไขการตรวจปล่อย ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจปล่อย
    1. กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้นําเข้าหรือตัวแทนออกของสามารถรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร
    2. กรณีสั่งการเปิดตรวจ (Red Line) เจ้าหน้าที่จะดําเนินการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้ากับข้อมูลใบขนสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกต้องตามสําแดงจะส่งมอบสินค้าให้ผู้นําเข้าหรือตัวแทนรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร
พิธีการศุลกากรนำเข้าทางเรือ

กรมศุลกากรได้พัฒนานำระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการบริการผ่านพิธีการศุลกากรซึ่งปัจจุบันเรียกว่าระบบ TCS ผู้ประสงค์จะดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำการลงทะเบียนกับกรมศุลกากร เพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ซึ่งผู้ที่ลงทะเบียนแล้วสามารถเข้าสู่ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน SERVICE COUNTER ของเอกชนหรือที่จุดให้บริการของกรมศุลกากร ณ จุดนำเข้า-ส่งออก

การลงทะเบียนกับกรมศุลกากรต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
  1. คำร้องขอลงทะเบียนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ (ตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  5. ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของ จากสถาบันวิทยาการศุลกากร สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร จากสมาคมหรือสถาบันที่กรมศุลกากรรับรอง หรือ ประกาศนียบัตรผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ชำนาญการศุลกากร จากสถาบันวิทยาการศุลกากร สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร
  6. หนังสือรับรองการเป็นพนักงาน/ลูกจ้างของตัวแทนออกของ (ยกเว้นบุคคลที่มีบัตรผ่านพิธีการศุลกากร หรือบัตรผู้ช่วยปฏิบัติพิธีการศุลกากร และได้ผ่านการอบรมและทดสอบจากสถาบันวิทยาการศุลกากรตามประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2549 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551
  7. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
  8. สำเนาเอกสารตามข้อ (2) - (5) อย่างละหนึ่งชุด พร้อมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
  9. โดยยื่นคำร้องที่ ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร กรมศุลกากรหรือยื่นผ่านสำนักงานศุลกากร หรือด่านศุลกากร ทั้งนี้ผู้ลงทะเบียนจะสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของได้สามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต

พิธีการศุลกากรนำเข้าทางเรือ
ในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้า อาทิ กระทรวงพาณิชย์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ ฯลฯ ที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน โดยมีคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ดังนี้
  1. ผู้นำเข้าต้องยื่นแบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภท ยกเว้นสินค้าที่กรมศุลกากรกำหนดให้ใช้ ใบขนฯประเภทอื่น
  2. เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า
    1. สำหรับพิธีการชำระอากร พิธีการวางประกัน พิธีการขนถ่ายข้างลำ พิธีการคลัง สินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ต้องมีเอกสารประกอบ ได้แก่
      1. ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ เว้นแต่กรณีที่กรมศุลกากรกำหนดให้มีการจัดทำคู่ฉบับเพิ่ม เช่น สำหรับการนำเข้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน กรณีดังกล่าวต้องมีสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับ
      2. ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก. 100/1)
      3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
      4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
      5. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading)
      6. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
      7. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้าได้จาก www.customs.go.th เลือกรายการของควบคุมการนำเข้า-ส่งออก
      8. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีขอลดอัตราอากร
      9. เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้าแค็ตตาล็อก เป็นต้น
    2. พิธีการหลายเที่ยวเรือ ต้องเพิ่มพิมพ์เขียว (BLUE PRINT) แบบแปลน แบบพิมพ์หรือเอกสารประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ทำใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ
    3. พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิต้องเพิ่มสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า (กศก.99/1) อีก 1 ฉบับ
    4. พิธีการส่งเสริมการลงทุนต้องหนังสืออนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
    5. พิธีการสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) มี 2 กรณีดังนี้ คือ
    6. กรณีสินค้าอยู่ในอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
      1. คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) ชำระอากร 1 ใน 10
      2. ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
      กรณีสินค้าอยู่นอกอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
      1. คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT)ขอคืนอากร9 ใน 10
      2. ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
    7. พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
      1. แบบ กนอ. 02-1 กรณีสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบ
      2. แบบ กนอ. 02-1 และ กนอ.101 กรณีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือการค้าเพื่อส่งออก

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้าทางเรือ
  1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจัดเตรียมข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter และให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
    ระบบคอมพิวเตอร์กรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิง การอนุมัติ/อนุญาต เกี่ยวข้องและตรวจสอบบัญชีสินค้าสำหรับเรือโดยอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์
  2. การตรวจปล่อยสินค้าจะนำระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) มาใช้ในการสั่งการตรวจตามเงื่อนไขที่หน่วยงานศุลกากรกำหนดไว้ในระบบ Profile เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ ให้เปิดตรวจ (Red Line) หรือให้ยกเว้นการตรวจ (Green Line) เมื่อระบบตรวจสอบเสร็จแล้วจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าและสั่งการตรวจให้อัตโนมัติ พร้อมกับแจ้งตอบกลับไปยัง ผู้ประกอบการทราบผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์และแจ้งโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือทราบถึงผลการสั่งการตรวจจากศุลกากร
    1. กรณียกเว้นการตรวจ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือรับมอบสินค้าได้ทันที
    2. กรณีให้เปิดตรวจ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือเพื่อเตรียมของเพื่อตรวจแล้วติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้า
    3. การชำระและวางเงินประกันค่าภาษีอากร ผู้ประกอบการสามารถเลือกชำระและวางเงินประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือชำระและวางเงินประกันผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ได้
    4. การวางค้ำประกันค่าภาษีอากร ผู้ประกอบการสามารถเลือกวางค้ำประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือวางค้ำประกันผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Guarantee) ได้
    5. การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า เป็นการตรวจ ณ ท่าที่ระบุในบัญชีสินค้าว่ามีชื่อส่งของถึงแต่ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์ขอขนย้ายสินค้าไปตรวจปล่อยนอกเขตท่าที่นำเข้าได้แต่ต้องแจ้งล่วงหน้าในขั้นตอนจัดเตรียมใบขนสินค้าก่อนส่งมายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
  3. ผู้นำของเข้านำใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จเสียภาษีอากร เอกสาร Deliver Order (D/O) ไปดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าในท่าเรือและขนถ่ายสินค้านำเข้ามาที่โกดังหรือโรงงาน หรือบริษัท
  4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลาไม่น้อย 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้
    1. IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM
    2. IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM
    3. IMPORT/EXPORT INVOICE LIST

พิธีการศุลกากรนำเข้าทางอากาศ

แผนภูมิกระบวนการนำเข้าทางอากาศ 

 

 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 25 มกราคม 2561 10:43:38
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ด่านศุลกากรตากใบ
เลขที่ 725 หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 96110
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-7364-2293
อีเมล์ : 75190000@customs.go.th

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของด่านศุลกากรตากใบ - สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4
ลิขสิทธิ์ 2015 ด่านศุลกากรตากใบ สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนประมวลผลและคลังข้อมูล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ